วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือคนโบราณมักเรียกว่าวัดโพธ์ ท่าเตียน เป็นวัดพระอารามหลวงชั้นเอก ซึ่งตั้งอยู่ ถนนสนามไชย แขวง พระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพหานคร ก่อตั้งเมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่ได้มีหลักฐานแน่นอนว่า สร้างขึ้นพ.ศ.ใด แต่ได้มีการให้สถาปนาสร้างใหม่ในปี พ.ศ.2331 จนเสร็จใน พ.ศ.2344 โดยพระราดำรัสของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่1 ทรงพระราชทานนามวัดแห่งนี้ใหม่ เป็นวัดพระเชตุพนวิมลคลาวาส ผู้คนสมัยนั้นจะรู้จักกันว่าเป็นวัดประจำพระองค์ของรัชกาลที่1
ต่อมาในรัชกาลที่ 3 ได้บูรณะครั้งใหญ่ และได้ทรงให้จารึกตำรามากมาย ไว้บนศิลา เก็บไว้ที่ศาลาราย ครั้นต่อมาถึงรัชกาลที่4 ก็ทรงให้แก้คำสร้อยที่ต่อท้ายของชื่อวัดเปลี่ยนเป็น “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร” ภายในยังเป็นที่สำคัญไว้ประกอบพิธีต่างๆ อาทิ พิธีราชพิเษก ของพระบาทสมเด็จพระนโรดม โดยนิตินัย ก่อนที่จะมีการราชพิเษกขึ้นที่กรุงพนมเปญ โดยพฤตินัย พระราชากษัตริย์ทุกพระองค์ในราชวงศ์จักรี ถือได้ว่าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นที่เคารพและสำคัญมากและยังเป็นราชประเพณีที่ต้องบูรณะซ่อมแซ่มวัดแห่งนี้กันมาทุกรัชกาลเลยทีเดียว
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามนั้นยังเป็นเหมือนมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทยอีกด้วย เป็นที่รวบรวมวิชาความรู้ต่างๆหลายแขนง อาทิ เช่น ประวตัติศาสตร์ วรรณรรมต่างๆ วิชาการพทย์ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บรรดาชาวเมืองในละแวกนั้นเรียกชื่อกันว่า วัดโพธิ์ ทั่วทั้งแผ่นดิน วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามนั้นแบ่งเป็น2ส่วนใหญ่ ๆ เนื่องด้วยมีสิ่งก่อสร้างมากมาย เช่นเจดีย์ พระพุทธรูปที่ประดิษฐานภายในวัด ฝั่งตะวันตกนั้นติดกับแม่นั้นเจ้าพระยา เป็นพื่นที่ตั้ง ของวิหารพระพุทธไสยาส มณฑป อีกทั้งมหาเจดีสี่รัชกาลย์ต่างๆ ศาลาการเปรียญ
- วิหารพุทะไสยาส นั้น ได้สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็นพระนั่งเกล้าเจ้าหัว และทรงโปรดให้สร้างขยายออกไปทางทิศอุดร ทรงโปรดพระองค์เจ้าลดาวัลย์เป็นแม่กองในการก่อสร้างขึ้น ทรงสร้างพระพุทธไสยาส ก่อนแล้วจึงสร้างวิหารในภายต่อมา มีขนาดเท่ากับพระอุโบสถ โดยผนังและผนังระหว่างหน้าต่างของวิหารนั้นได้มีการเขียนลวดลายภาพเขียน เรื่องมหาวงศ์ องค์ของพระพุทธไสยาสนั้นมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ3 ของประเทศเลยทีเดียว มีลักษณะไม่เหมือนทีอื่น โดย พระบาทขวาช้ายทั้งข้างนั้นเสมอกัน มีการประดับมุกมงคล108 ประการไว้ กลางของพระบาทนั้นมีรูปจักรซึ่งถูกต้องตรงกับตำรามหาปุริสลักษณะ ลวดลายของมุกมงคล108 นั้นเป็นความเชื่อของชนชาวชมพูทวีปและชนชาวจีน ซึ่งเป้นวัฒนธรรมที่ผสมผสานกันอย่างลงตัว
- พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล ตั้งอยู่ถัดจากพระอุโบสถ ซึ่งเป็นเจดีย์ 4องคื ตั้ง ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว สถาปัตยกรรมซุ้มประตูเป็นไทยประยุกต์แบบจีน ซึ่งมีตุ๊กตาหินจีนตั้งอยู่ประตูละ 1 คู่ พระเจดีย์ เป็นแบบเจดีย์ย่อไม้สิบสอง ประดับไปด้วยกระเบื้องเคลือบ
ศาลาการเปรียญครั้งเดิมได้เป็นพระอุโบสถของวัดโพธิ์ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ภายหลังการได้สร้างพระอุโบสถหลังใหม่ของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามแล้ว จึงลดฐานะเป็นเพียงศาลาการเปรียญ ภายในมี พระพุทธศาสดา ประดิษฐานเป็นองค์พระประธานไว้ ปัจจุบันนี้วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกและเป็นสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา ส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้คงอยู่สืบต่อไป
# วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร